วงจรชีวิตของพยาธิหนอนหัวใจ ติดต่ออย่างไรจากสุนัขไปสุนัข

โดยปกติในประเทศไทย เราสามารถพบยุงได้ตลอดทั้งปี แต่จะชุกชุมในฤดูร้อนและฤดูฝน เนื่องจากน้ำฝนจะไหลไปอยู่ตามที่ต่างๆ จนเกิดเป็นแหล่งน้ำขัง เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงชั้นดี

ยุงไม่เป็นเพียงแค่พาหะนำโรคมาสู่คนเท่านั้น แต่ยังเป็นพาหะนำโรคพยาธิหนอนหัวใจมาติดต่อในสุนัขอีกด้วย สุนัขที่ป่วยเป็นโรคนี้จะไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่เมื่อพยาธิหนอนหัวใจเติบโตเต็มที่และมีจำนวนมากขึ้น อาจจะก่อให้เกิดอาการ เหนื่อยง่าย หอบ โลหิตจาง อัตราการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ หัวใจวาย และอาจเสียชีวิตในที่สุด

วงจรชีวิตของพยาธิหนอนหัวใจ แบ่งออกเป็น 4 ระยะใหญ่ๆ คือ

ระยะที่1 แพร่ยุงจะนำตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจมาสู่สุนัข จากการที่ยุงไปกัดสุนัขที่ป่วยเป็นโรคนี้ ซึ่งตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจจะเข้าสู่ตัวยุงผ่านเลือดของสุนัข ดังนั้นในระยะนี้ทำให้ยุงเป็นพาหะนำโรคพยาธิหนอนหัวใจโดยสมบูรณ์

ระยะที่2 ระยะฟักตัวในยุงตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจจะฟักตัวอยู่ในยุงประมาณ 2-3 สัปดาห์

ระยะที่3 ตัวอ่อนในสุนัขยุงที่มีตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจจะไปกัดสุนัข จากนั้นตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจจะเข้าสู่ตัวสุนัข ชอนไชผ่านเนื้อเยื่อ จนไปถึงหัวใจและปอด

ระยะที่4 โตเต็มวัยพยาธิหนอนหัวใจจะเติบโตเต็มวัยในหัวใจและปอด และจะเริ่มแพร่พันธุ์ตัวอ่อนไปในกระแสเลือดของสุนัข จากนั้นเมื่อยุงมากัดสุนัขที่ป่วยเป็นโรคยุงก็จะกลายเป็นพาหะ

วิธีป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจที่ได้ผลดี คือการป้องกันยุงไม่ให้กัดสุนัข การใช้ยากันยุงก็ถือเป็นหนึ่งทางเลือกที่ง่ายและสะดวก ยากันยุง BuxAway มีส่วนผสมของวัตถุดิบจากธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุนัขและมนุษย์ มีกลิ่นอ่อนโยน ไม่รบกวนระบบทางเดินหายใจ และมีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงได้นานต่อเนื่องถึง 15 ชั่วโมง ถ้ารักสุนัข อย่าลืมเลือก BuxAway ช่วยปกป้องจากยุงร้าย เพราะ BuxAway ดูแลสุนัข ดูแลคุณ

Share:

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข่าวและกิจกรรม

สาระน่ารู้